วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564

บันทึกการเดินทาง

 สวัสดีทุกท่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมทั้งโดยตั้งใจเเละไม่ตั้งใจ นี้เป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรกจากการห่างหายจากการเขีนนบล็อกไปซึ่งก็นานพอดู

ก่อนอื่นต้องขออภัยเป็นอย่างมากจากการที่ไม่ได้เข้ามาตอบกลับความคิดเห็นต่างๆรวมทั้งข้อความที่ส่งเข้ามาขอ3D CAD แม่พิมพ์โลหะ ทั้งในบล็อกเก้อก็ดี ในFacebock ก็ดี.

ในช่วงเวลาที่หายหน้าไป ก็ไม่ได้ไปไหน ยังคงทำงานอยู่กับเเวดวงอุตสาหกรรมแม่พิมพ์โลหะ ยังเป็นพนักงานบริษัทเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือหน้าที่พ่อลูกอ่อน ทำงานไปเลี้ยงลูกไป ค่าโน่น ค่านี่ ต้องทำโอทีเพื่อเงินและงานที่รับผิดชอบต่างๆ สรุปเวลาเขียนบล็อกเลยไม่มี

วันนี้ผีขยันเข้าล้างรถเอง ก้มมองใต้ทองรถยนต์แล่วนึกถึงตอนที่เขียนบล็กใหม่ๆ เดินผ่านอู่ซ่อมรถเห็นซากรถที่เขารื้อออกมาก็สนใจใคร่รู้อยากเขียนพิมพ์ปั้มชิ้นส่วนตัวนั้นบ้างอันโน่นบ้าง เลยหยิบโทรศัพท์มาดูว่าบล๊อกยังอยู่ดีไหม เลยเป็นที่มาของบทความนี้ 

สรุปตอนนี้เริ่มพอมีเวลาให้ทำอะไรที่จะมาเติมเต็มให้กับชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่ปลีกย่อยเเต่มันอาจพัฒนาต่อให้เป็นจิ๊กซอร์ชิ้นยักษ์วันข้างหน้าได้..

ก็คงจะมีการอัปเดตบล็อกเรื่อยๆเเละก็แจก2D,3D CAD หรือ Drawing  ตลอดจน Knowhow ที่เกี่ยวกับแม่พิพ์ต่อ 

การเดินทางทีาผ่านมาของผม เริ่มที่ Die stamp ต่อด้วย ejection mold มาหยุดที่ coining die ต้องบอกก่อนเลยว่าสนุกคนละแบบ ถ้ามีโอกาสอยากลองไปสาย Die casting แล้วก็ hot forging ดูก่อนที่จะเกษียรจารการขายเเรงงานในภาคอุตสาหกรรม.

รบกวนติดตามเป็นกำลังใจในการกลับมาเขียนบล็อกอีกครั้งของผมด้วยครับ.

## ปล. กลับมารับงานเขียนพิมพ์ ทั้งsingle progressive งาน project นิสิตนักศึกษา แบบอย่างเดียวหรือผลิตเป็นแม่พิมพ์พร้อมปั้ม ทักมาคุยได้ครับ.





วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

แม่พิมพ์โลหะ โครงสร้างเหล็กหล่อ

โครงสร้างแม่พิมพ์เหล็กหล่อ

      เหล็กหล่อ เรียกกันในชื่อเหล็กสีเทา หรือ เหล็ก FC นิยมใช้ในการทำโครงสร้างแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ซึ่งมีข้อดีกว่าเหล็กเหนียว(แผ่น)ก็คือ ผู้ออกแบบสามารถออกแบบระบบการทำงานของแม่พิมพ์ที่ค่อนข้างซับซ้อนได้ง่าย รับภาระของแรงกระทำได้ดี เนื่องจากหล่อเป็นชิ้นเดียวกัน

เกรดเหล็กและการเลือกใช้












วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แม่พิมพ์โลหะ แจก Cad File 3D

      เป็นแม่พิมพ์ Blank and Pierce แต่รวมเอา ทั้งเจาะและตัดแบลงค์ ในขั้นตอนเดียว(ปกติควรแยกเป็น2ขั้นตอนคือเจาะก่อนแล้วแบลงค์ให้ชิ้นงานหล่นลงล่าง)แต่ชิ้นงานจะยังอยู่บนหน้าแม่พิมพ์ เหมาสำหรับการออกแบบแม่พิมให้มีการขึ้นรูป เช่นการพับ ร่วมอยู่ในแม่พิมพ์เดียวกัน คือ ตัดแบลงค์แล้วหยิบใส่ ขั้นตอนพับ(Bending)ปั้มทีเดียว คิดค่าโสตรกเครื่อง ครั้งเดียว
      ตัวนี้จะมีข้อเสียอยู่ประมาณ 3 ข้อคือ ชิ้นงานอยู่บนพิมพ์ต้องหยิบออก การจัดการเศษสแครป(เศษรู)ทำได้ไม่ดี ส่งผลให้ความแข็งแรงของแม่พิมพ์ลดลง
เป็นแบบป้อนด้วยมือ(จำนวนผลิตน้อย พิมพ์แบบประหยัด) ขนาด 400x600x300 ประมาณเครื่อง 150-200 ตัน
UPPER
LOWER

   มาต่อที่ Process Bending คือ งานตัวนี้พับ 3 steps (ถ้าเป็นเพรสเบรก) เป็นพิมพ์ที่รวมเอา BN1 และ BN2 เอาไว้ด้วยกัน
(BN = คำย่อ Bending)เพื่อให้ลดแม่พิมพ์ลงซึ่งมีผลต่อ Cost ของชิ้นงาน สำหรับขั้นตอนการทำงานก็คือ เมื่อปั้มได้ Blank แล้ว เริ่มจากมือซ้ายหยิบงานเข้าพิมพ์โดยวางชิ้นงานชน Locator pin แล้วกดปั้มขึ้นรูป จากนั้นใช้มือขวาหยิบออกจากดายที่หนึ่ง วางบน แพดโดยทีแพดจะมี Locator pin สำหรับสวมที่รูตรงกลาง และหมุนส่วนปลาย(ผมเรียกว่าหางชิ้นงาน)ชนที่ Locator pin (อันนี้ผมดัดแปลงโดยใช้ Dowel pin นี่แหละสะดวกดีด้วย)ระหว่างนั้นมือซ้ายก็หยิบชิ้นงานใส่ดายหนึ่งไปด้วย แล้วกดปั้ม หยิบออกด้วยมือขวา

Bending die_BN1-BN2



Side View



 Lower


 Upper


อยากได้ Cad File 3D ไปดูขำๆ ขอมาได้ครับ
facebook



วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเลือกใช้วัสดุทำแม่พิมพ์

การเลือกใช้วัสดุทำแม่พิมพ์

     การสร้างแม่พิมพ์แต่ละตัว จะประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนจำนวนมาก แต่ถ้าพูดถึงเฉพาะตัวของแม่พิมพ์ที่ต้องสัมผัสกับชิ้นงานขณะขึ้นรูป เช่น แม่พิมพ์ปั๊มโลหะแผ่น ตัวที่ใช้ขึ้นรูป และสัมผัสกับชิ้นงานก็คือ ตัวพันซ์กับดาย ถ้าเป็นแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกก็จะเป็นโพรงช่องว่างที่มีรูปทรงตามชิ้นงานที่ ต้องการฉีดพลาสติกลงไป (Mold) ซึ่งแม่พิมพ์ทั้งสองประเภทดังกล่าว จะต้องเลือกเหล็ก หรือ วัสดุ ที่จะนำมาใช้ทำตัวของแม่พิมพ์ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของแม่พิมพ์นั้น ๆ
ชิ้น ส่วนมาตรฐานในการสร้างแม่พิมพ์ ก่อนที่จะกล่าวถึงตัวแม่พิมพ์ จะขอกล่าวถึงส่วนประกอบของแม่พิมพ์ก่อน ปัจจุบันการสร้างแม่พิมพ์มักนิยมใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานมาสร้างแม่พิมพ์เกือบ ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการหลายรายผลิตชิ้นส่วนมาตรฐานในการสร้างแม่พิมพ์ ทั้งแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก และแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ ทำให้ผู้ผลิตแม่พิมพ์สามารถสั่งซื้อมาสร้างแม่พิมพ์ได้ง่าย การนำชิ้นส่วนมาตรฐานมาสร้างแม่พิมพ์ จะมีข้อดีหลายประการ ดังนี้
    ก.  ทำให้ชิ้นส่วนมีราคาถูกลง เนื่องจากการผลิตทำเป็นจำนวนมากราคาต่อชิ้นจึงถูกลง
    ข.  ทำให้ชิ้นส่วนที่ผลิตมามีคุณภาพดี เนื่องจากการผลิตชิ้นงานที่มี ขนาด รูปร่าง และทำจากเหล็กชนิดเดียวกันจำนวนมาก ๆ ทำให้การขึ้นรูปง่าย และมีความเที่ยงตรงสูง การปรับปรุงคุณสมบัติทางกล โดยการอบชุบด้วยความร้อน ก็สามารถจะใช้เตาอบที่เหมาะสมกับชิ้นงานนั่น ๆ นอกจากนี้การเลือกใช้อุณหภูมิ เวลาอบแช่ที่อุณหภูมิชุบแข็ง ตลอดจนการจุ่มชุบก็จะถูกต้องเหมาะสม ทำให้ได้คุณภาพชิ้นงานที่ดี
    ค.  ทำให้เวลาในการสร้างแม่พิมพ์สั่นลง โดยผู้ผลิตแม่พิมพ์ไม่ต้องออกแบบ และสั่งทำส่วนประกอบต่าง ๆ ของแม่พิมพ์ แต่สามารถสั่งซื้อ ชิ้นส่วนมาตรฐานที่เหมาะสมกับแม่พิมพ์ที่สร้างอยู่มาใช้งานได้เลย
    ง.  ทำให้ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักร ผู้ผลิตแม่พิมพ์ไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อเครื่องจักร มาผลิตส่วนประกอบของแม่พิมพ์ จึงสามารถลดต้นทุนได้มาก
      จากที่กล่าวมาแล้วว่า การใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานมาทำการสร้างแม่พิมพ์ จะมีข้อดีหลายประการ แต่การเลือกใช้ชิ้นส่วนเหล่านี้ ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานของแม่พิมพ์ที่จะ สร้างขึ้นด้วย ชิ้นส่วนบางชิ้นอาจมีขนาด และรูปร่างเหมือนกัน แต่ทำจากวัสดุที่ต่างกัน ดังนั้น ลักษณะการใช้งาน คุณภาพ อายุการใช้งาน และราคาก็จะแตกต่างกันด้วย

การเลือกใช้วัสดุทำแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

     การเลือกใช้วัสดุทำแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ แม่พิมพ์ปั๊มโลหะจะต้องขึ้นรูปชิ้นงานโลหะหลายลักษณะ เช่น ขึ้นรูปร้อน ขึ้นรูปเย็น รวมทั้งต้องขึ้นรูปชิ้นงานในสภาพของโลหะหลอมเหลวด้วยดังนั้น คุณสมบัติของเหล็กที่ใช้ทำแม่พิมพ์ปั๊มโลหะโดยทั่วไปจะประกอบด้วย
    -  มีความต้านทานการสึกหรอ  แม่พิมพ์โดยเฉพาะแม่พิมพ์ปั๊มโลหะแผ่น จะต้องมีความแข็งสูงเนื่องจาก ต้องปั๊มขึ้นรูปเย็นโลหะแผ่น หมายความว่าโลหะ หรือ เหล็กนั้น ๆ จะอยู่ในสภาพที่มีความแข็งสูง
    -  มีความเหนียวทนแรงกระแทกได้ดี  แม่พิมพ์ตีขึ้นรูปร้อนเป็นตัวอย่างของแม่พิมพ์ที่ต้องทนแรงกระแทกได้สูง เนื่องจากการขึ้นรูปชิ้นงานต้องตีชิ้นงานขณะร้อนแดง ด้วยแรงกระแทกที่สูงมาก
    -  มีความต้านทานแรงกดสูง  ตัวอย่างเช่น ตัวดายเจาะรูที่ต้องรับความเค้นแรงกด ในขณะใช้งานสูงอยู่ตลอดเวลา
    -  ทนความร้อน  แม่พิมพ์ตีขึ้นรูปร้อน แม่พิมพ์ฉีดโลหะ แม่พิมพ์ทั้งสองชนิดนี้ จะต้องมีคุณสมบัติด้านทนทานต่อความร้อนขณะใช้งานได้ดี
    -  มีความสามารถในการขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลต่าง ๆ ได้ดี  แม่พิมพ์ที่ทำจากเหล็กกล้าผสมสูงมักจะขึ้นรูปยาก เนื่องจากมีส่วนผสมสูง และมีคาร์ไบด์ที่แข็งมากฝังตัวอยู่ในเนื้อเหล็กมาก ดังนั้นแม่พิมพ์เหล่านี้ ผู้ผลิตจะทำการอบอ่อนคาร์ไบด์กลมมาให้ การอบวิธีนี้จะทำให้การขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลง่ายขึ้นมาก
    -  มีความสามารถในการชุบแข็ง เนื่องจากแม่พิมพ์กลุ่มนี้  ต้องใช้ขึ้นรูปโลหะรวมทั้งเหล็ก ดังนั้นแม่พิมพ์เหล่านี้ส่วนใหญ่จึงต้องมีความแข็งแรงสูง และสามารถชุบแข็งได้ความแข็งลึกด้วย
การเลือกใช้วัดสุทำแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ สามารถแบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ได้ ดังนี้

วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ปั๊มโลหะแผ่น (Sheet Metal Die)

      แม่พิมพ์ประเภทนี้จะต้องขึ้นรูปเย็นชิ้นงาน ดังนั้น จึงต้องใช้วัสดุที่มีความทนทานต่อการสึกหรอจากการเสียดสีสูง แม่พิมพ์ในกลุ่มนี้ ประเภทที่ใช้ในการ ตัด และ เจาะ ถ้ามี ขนาด และรูปร่างตรงตามชิ้นส่วนมาตรฐาน เช่น ต้องการสร้างแม่พิมพ์เจาะรูชิ้นงาน ถ้าขนาดของรูที่เจาะ ตรงตามชิ้นส่วนมาตรฐานก็สามารถจัดซื้อพันซ์ และดายมาใช้ได้เลย เพียงแต่ต้องพิจารณาว่าควรจะเลือกซื้อพันซ์ และดายที่ทำจากวัสดุประเภทใด ให้เหมาะสมกับแม่พิมพ์ที่สร้างขึ้น เช่น เหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานเย็น เหล็กกล้าเครื่องมือความเร็วสูง หรือ อาจใช้ซีเมนต์คาร์ไบด์ เป็นต้น
สำหรับแม่พิมพ์ที่ต้องใช้พันซ์ และดายที่มีขนาด และรูปร่างจำเพาะ ไม่สามารถจะเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานได้ จำเป็นต้องซื้อเหล็กมาขึ้นรูปพันซ์ และดายเอง สามารถเลือกใช้วัสดุได้ ดังต่อไปนี้
    ก.  แม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีจำนวนการผลิตไม่สูงนัก แม่พิมพ์พวกนี้ สามารถใช้เหล็กกล้าคาร์บอนเครื่องมือ เกรด SK 3 และ SK 5 แม่พิมพ์ที่ทำจากเหล็กกลุ่มนี้ ไม่สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ เนื่องจาก จะทำให้ความแข็งของแม่พิมพ์ตกลงอย่างรวดเร็ว และจะทำให้แม่พิมพ์สึกหรออย่างรวดเร็วตามไปด้วย
    ข.  แม่พิมพ์โลหะที่มีจำนวนการผลิตปานกลางถึงค่อนข้างสูง แม่พิมพ์ที่ต้องการคุณสมบัติในการใช้งานลักษณะนี้ สามารถใช้เหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานเย็นเกรด SKS 3 ได้ โดยเหล็กในเกรดนี้จะสามารถผลิตชิ้นงานได้มากกว่าแม่พิมพ์ที่ทำจากเหล็กกล้า คาร์บอนเครื่องมือ เนื่องจาก มีธาตุผสมที่สามารถรวมตัวกับคาร์บอนได้คาร์ไบด์ที่ทนการเสียดสีเติมลงไปใน เหล็กด้วยเล็กน้อย
    ค.  แม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีจำนวนการผลิตสูง สามารถใช้เหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานเย็น เกรด SKD 1, SKD 2, SKD 11 และ SKD 12 สำหรับเหล็กในกลุ่มนี้เกรด SKD 11 จะนิยมใช้งานมากที่สุดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เนื่องจากชุบแข็งได้ความแข็งลึก และมีการเสียรูปน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับเกรดอื่น ๆ ในกลุ่ม นอกจากนี้ เหล็กในกลุ่มนี้สามารถเพิ่มความแข็งผิว เพื่อให้มีความทนทานสูงขึ้น ด้วยการชุบผิวแข็งด้วยวิธีเสริมไนโตรเจนที่ผิวได้ดี
    ง.  แม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่มีจำนวนการผลิตสูงมาก สามารถใช้เหล็กกล้าเครื่องมือความเร็วสูง เกรด SKH 51, SKH 52, และ เกรด SKH 55 นอกจากนี้ ยังสามารถสั่งซื้อซีเมนต์คาร์ไบด์ ซึ่งมีจำหน่ายอยู่ในกลุ่มของชิ้นส่วนมาตรฐานในการสร้างแม่พิมพ์ โดยนำมาฝังลงใน พันซ์ และดาย ตรงบริเวณที่ใช้งานเท่านั้นก็ได้

วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ตีขึ้นรูปร้อน (Forging Die)

     แม่พิมพ์ประเภทนี้จะใช้เหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานร้อนเกรด SKD 5, SKD 61 และ SKD 62 สำหรับเหล็กในกลุ่มนี้เกรด SKD 61 จะนิยมใช้งานมากที่สุดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เนื่องจากชุบแข็งได้ความแข็งลึก และมีความเหนียวดีมากกว่าเกรดอื่น ๆ ในกลุ่ม นอกจากนี้เหล็กในกลุ่มนี้ สามารถเพิ่มความแข็งผิว เพื่อให้มีความทนทานต่อการสึกหรอสูงขึ้น ด้วยการชุบผิวแข็งด้วยวิธีเสริมไนโตรเจนที่ผิวได้ดี 

วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์อัดขึ้นรูป (Extrusion Die) 

     แม่พิมพ์ประเภทนี้จะใช้เหล็กในกลุ่มเดียวกับแม่พิมพ์ตีขึ้นรูปร้อน และเกรด SKD 61 จะนิยมนำมาใช้งานสูงสุดเช่นกัน และควรจะนำแม่พิมพ์ไปชุบผิวแข็งด้วยวิธีเสริมไนโตรเจนที่ผิว เนื่องจากจะได้ผิวแข็งและลื่น ทำให้การอัดขึ้นรูปชิ้นงานทำได้ดีขึ้น 

วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ Die Casting 

แม่พิมพ์ประเภทนี้ จะใช้เหล็กในกลุ่มเดียวกับแม่พิมพ์ตีขึ้นรูปร้อน และเกรด SKD 61 จะนิยมใช้งานสูงสุดเช่นกัน


การเลือกใช้วัสดุทำแม่พิมพ์พลาสติก 

     แม่พิมพ์พลาสติกมีอยู่ด้วยกันหลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน นอกจากนี้ พลาสติกที่ ฉีด อัด หรือ เป่า เข้าไปในแม่พิมพ์ก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกใช้วัสดุ หรือ เหล็ก ให้มีคุณสมบัติถูกต้อง เหมาะสมกับพลาสติกที่ใช้กับแม่พิมพ์ และลักษณะการใช้งานของแม่พิมพ์แต่ละประเภท จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คุณสมบัติของวัสดุ หรือ เหล็ก ที่ใช้ทำแม่พิมพ์ โดยทั่วไปจะประกอบด้วย
-  มีความสามารถในการขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลต่าง ๆ ได้ดี
-  มีการเปลี่ยนรูปน้อยภายหลังการชุบแข็ง
-  มีความสามารถในการขัดตกแต่งให้เป็นเงาได้ดี
-  มีความทนทานต่อการสึกหรอได้ดี
-  มีความทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี
-  มีความสามารถในการระบายความร้อนได้ดี
     
      โดยแบ่งตามลักษณะการใช้งาน และประเภทของพลาสติกที่ผนังของแม่พิมพ์ต้องสัมผัส โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
       ก.  แม่พิมพ์พลาสติกที่มีจำนวนการผลิตไม่สูงนัก  แม่พิมพ์ ฉีด อัด และ เป่า ชิ้นงานพลาสติกที่มีจำนวนไม่มากนักจะใช้เหล็กเกรด  S 45 C หรือ S 50 C แม่พิมพ์ที่ทำจากเหล็กเกรดนี้จะมีราคาถูก นอกจากนี้ ถ้าต้องการเพิ่มความทนทาน และเพิ่มความมันเงาของผิว สามารถนำไปชุบเคลือบผิวแข็งฮาร์ทโครมได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้อลูมิเนียมผสมทำแม่พิมพ์ชนิดนี้ได้
       ข.  แม่พิมพ์พลาสติกทีมีจำนวนการผลิตค่อนข้างสูง  แม่พิมพ์ที่มีจำนวนการผลิตค่อนข้างสูง จะใช้เหล็กที่ผ่านการชุบแข็งมาแล้ว เกรด AISI P 20,   P20+S,   P21 (ไม่สามารถเทียบเกรดได้ตาม JIS) ในกรณีที่ต้องการใช้งานที่มีจำนวนการผลิตสูงขึ้น อาจเลือกใช้เหล็กในกลุ่มนี้ที่มีความแข็งในสภาพจำหน่ายประมาณ 40 HRC แต่ความแข็งที่เพิ่มขึ้นจะทำให้การขึ้นรูปแม่พิมพ์ค่อนข้างยาก นอกจากนี้ยังสามารถเลือกใช้เหล็กชุบผิวแข็งมาใช้ก็ได้ แต่ต้องระวังเรื่องการเสียรูป และขนาด ของแม่พิมพ์ ภายหลักการชุบผิวแข็งด้วย
      ค.  แม่พิมพ์พลาสติกที่มีจำนวนการผลิตสูง  ในนิยมใช้ทำแม่พิมพ์ที่ต้องการจำนวนผลิตสูงมีอยู่ด้วยกันหลายเกรด ดังนี้
       -  เหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานร้อน เกรด SKD 61 ในแม่พิมพ์ ฉีด อัด และ เป่า ชิ้นงานพลาสติกจะชุบแข็ง และอบคืนตัวให้มีความแข็งใช้งานระหว่าง 46-50 HRC นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มความทนทานต่อการสึกหรอและการกัดกร่อนได้ด้วยการนำไปเสริม ไนโตรเจนที่ผิว (Nitriding)
       -  เหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานเย็นเกรด SKD 11, SKS 3 และ SKD 12 เหล็กทั้ง 3 เกรดนี้ จะมีคาร์บอนผสมอยู่สูง ทำให้เมื่อชุบแข็งแล้วจะมีความแข็งสูง ทนต่อการเสียดสีได้ดี จึงทำให้แม่พิมพ์มีความทนทานสูง สามารถใช้ผลิตชิ้นงานพลาสติกได้จำนวนมาก การใช้งานจะไม่นิยมทำแม่พิมพ์จากเหล็กกลุ่มนี้ทั้งชิ้น แต่จะนิยมใช้ทำแม่พิมพ์แบบฝัง (Insert) ข้อเสียของเหล็กในกลุ่มนี้ที่จะนำมาทำแม่พิมพ์พลาสติกคือ เหล็กกลุ่มนี้จะมีความเปราะ และการขัดเงาเหล็กในกลุ่มนี้จะค่อนข้างยากเนื่องจาก มีคาร์ไบด์ที่แข็งมากฝังตัวอยู่ในเนื้อเหล็ก
      ง.  แม่พิมพ์พลาสติกที่ต้องทนต่อการกัดกร่อนของพลาสติกบางประเภท สำหรับแม่พิมพ์ที่ต้องการให้ทนทานต่อการเกิดสนิม หรือ ให้ทนทานต่อการกัดกร่อนของพลาสติกบางประเภท เช่น PVC และ PET พลาสติกประเภทนี้ จะใช้แม่พิมพ์ที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม กลุ่มที่สามารถชุบแข็งได้ในเกรด SUS 420 J2 และ SUS 431 สำหรับแม่พิมพ์ที่ต้องการความทนทานสูง จะใช้เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด SUS 440 C เนื่องจากมีคาร์บอนสูงกว่าใน 2 เกรดแรก นอกจากนี้ ยังสามารถใช้อลูมิเนียมผสมในกลุ่มที่ใช้ทำแม่พิมพ์ได้ แต่ความทนทานจะต่ำกว่าเหล็กกล้าไร้สนิม

Cr.http://plastic.freevar.com





วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์

 วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์

     วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นเหล็ก และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก วัสดุเหล่านี้มีอาทิ เช่น เหล็กกล้าคาร์บอน หล็กกล้าผสม เหล็กกล้าไร้สนิม เหล็กหล่อ และอลูมิเนียม เป็นต้นการเลือกใช้วัสดุให้ถูกต้องกับการสร้างแม่พิมพ์แต่ละประเภท ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทำให้สามารถสร้างแม่พิมพ์ได้อย่างเหมาะสมตามคุณสมบัติของการใช้งาน สามารถสร้างแม่พิมพ์ได้ง่าย แม่พิมพ์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สำหรับแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ และแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกจะประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นตัวแม่พิมพ์ในส่วนที่ต้องสัมผัสกับชิ้นงาน และส่วนประกอบต่าง ๆ ของแม่พิมพ์ ซึ่งชิ้นส่วนแต่ละตัวอาจมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน หรือ แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนนั้น ๆ จะต้องถูกใช้งานในลักษณะใด เช่น ต้องทนการเสียดสีสูง ต้องทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ต้องสัมผัสกับความร้อน หรือต้องรับแรงกระแทก เป็นต้น ดังนั้น การศึกษาเรื่อง ชนิดวัสดุทำแม่พิมพ์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านแม่พิมพ์ โดยจะขอกล่าวถึงชนิดวัสดุทำแม่พิมพ์เป็นข้อ ดังนี้

เหล็กหล่อ (Cast Iron)
    
      แม่พิมพ์ ปั๊มขึ้นรูปโลหะขนาดใหญ่ เช่น แม่พิมพ์ปั๊มขึ้นรูป ประตู และตัวถังรถยนต์ จำเป็นต้องใช้เหล็กหล่อเป็นฐานรองแม่พิมพ์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสร้างแม่พิมพ์ เนื่องจาก ถ้าแม่พิมพ์ขนาดใหญ่นี้ ทำจากเหล็กแม่พิมพ์ทั้งหมด แม่พิมพ์จะมีราคาแพงมาก และไม่มีความจำเป็น การใช้งาน จะทำการหล่อเหล็กให้มีขนาดตามที่ต้องการ จากนั้น จะมีการอบด้วยความร้อน เพื่อให้เหล็กคลายความเค้นจากการเย็นตัวในแบบ จากเหล็กหลอมเหลวไปเป็นของแข็ง นอกจากนี้ การอบคลายความเค้น จะทำให้เหล็กมีรูปร่างที่แน่นอนไม่บิดงอในขณะที่ใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับแม่พิมพ์ เมื่ออบคลายความเค้นแล้ว จะนำฐานแม่พิมพ์เหล็กหล่อนี้ไปทำการตกแต่งตามแบบ เพื่อให้ตัวแม่พิมพ์ฝัง (Insert) อยู่บนฐานเหล็กหล่ออย่างถูกต้องเหมาะสม
เหล็กหล่อที่มักใช้หล่อเป็นฐานของแม่พิมพ์จะเป็นเหล็กหล่อสีเทา (Gray Cast Iron) เหล็กหล่อสีเทาจะเป็นเหล็กหล่อที่มีราคาไม่สูงนัก เนื่องจากไม่มีธาตุผสมที่มีราคาแพงเติมลงไป นอกจากนี้ เหล็กหล่อสีเทายังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับการใช้เป็นฐานรองแม่พิมพ์หลายประการ ดังนี้
ก.  สามารถตกแต่งด้วยเครื่องมือกลได้ง่าย
ข.  สามารถหล่อได้ง่าย เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวไม่สูงนัก มีความสามารถในการไหลในแบบได้ดี ทำให้สามารถหล่อชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ง่าย
ค.  เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวน้อย จึงเหมาะกับการทำฐานรองแม่พิมพ์ ที่ต้องการคุณสมบัติด้านรูป   ร่าง และขนาดที่แน่นอน
ง.  มีความสามารถต้านทานแรงอัด และสามารถรับแรงสั่นได้ดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีในการใช้เป็นฐานรองแม่พิมพ์ รวมทั้งฐานรองเครื่องจักรกลต่าง ๆ ด้วย
จ.  สามารถเพิ่มคุณสมบัติด้านความต้านทานแรงดึงได้มาก โดยการปรับปรุงส่วนผสม และการอบชุบด้วยความร้อน
เหล็กหล่อสีเทาที่ใช้ทำฐานแม่พิมพ์ตามมาตรฐานของ JIS จะอยู่ในชั้นคุณภาพ FC 25 และ FC 30 สำหรับชั้นคุณภาพ FC 25 มีความเค้นแรงดึงต่ำสุด 25 kg/mm2 และชั้นคุณภาพ FC 30 มีความเค้นแรงดึงต่ำสุด 30 kg/mm2

เหล็กกล้าทั่วไป (Mild Steels)

     เหล็กกล้า ทั่วไปจะจัดอยู่ในกลุ่มของเหล็กล้าคาร์บอนต่ำ      (Low Carbon Steels) โดยมีคาร์บอนสูงสุดไม่เกิน 0.25% โดยน้ำหนัก เป็นเหล็กที่มีราคาถูก ขึ้นรูปได้ง่าย เนื่องจากมีความแข็งต่ำ นอกจากนี้ ยังสามารถทำการเชื่อมได้ดี จึงใช้ทำโครงสร้างทั่วไปของแม่พิมพ์ ในส่วนที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก เกรดที่นิยมใช้งานจะเป็นเกรด SS 40 และ SS 41

เหล็กชุบผิวแข็ง (Case Hardening Steels)

     เหล็กชุบผิวแข็งที่มักใช้ทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกได้แก่ เกรด AISI P2 และ P4 (ไม่สามารถเทียบเกรดได้ตาม JIS) แม่พิมพ์จะถูกนำไปทำการเสริมคาร์บอนที่ผิว (Carburizing) ทำให้แม่พิมพ์มีความแข็งผิวสูงประมาณ 58-62 HRC ส่วนแกนในจะมีความแข็งประมาณ 25-35 HRC คุณสมบัติผิวแข็งแกนเหนียวนี้ จะทำให้แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกทนทานต่อการสึกหลอได้ดี และยังคงความเหนียวของแกนใน ทำให้รับแรงอัด และแรงกระแทกได้ดีด้วย ผิวที่แข็งนี้ จะทำให้การขัดเงาแม่พิมพ์ทำได้ดี แต่การนำแม่พิมพ์ไปชุบผิวแข็งจะมีข้อเสียคือ หลังการชุบแข็งที่ต้องใช้อุณหภูมิสูง และบังคับให้ชิ้นงานเย็นตัวอย่างรวดเร็วในสารชุบ จะทำให้เกิดการเสียรูป และเปลี่ยนขนาดได้ง่าย ดังนั้น ต้องมีการเผื่อขนาดเพื่อนำมาเจียรนัยตกแต่งภายหลังด้วย


เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steels)Cr.www.plastic.freevar.com

     เหล็กกลุ่มนี้ที่มักใช้ ในงานแม่พิมพ์จะเป็นเกรด S 45 C หรือ S 50 C โดยทั่วไป จะนิยมใช้ทำโครงแม่พิมพ์ เช่น แผ่นประกบหน้า-หลัง ขารอง (Spacer Block) แผ่นรองรับ (Backing Plate หรือ Retaining Plate) นอกจากนี้ เหล็กในกลุ่มนี้ยังสามารถใช้ทำตัวแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ที่ใช้ฉีดชิ้นงานจำนวนไม่มากนัก โดยสามารถขึ้นรูปเป็นแม่พิมพ์ แล้วนำไปชุบเคลือบผิวแข็งฮาร์ดโครมก่อนนำไปใช้งาน นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นแผ่นโครงสำหรับใช้เป็นฐานฝัง (Insert) ตัวแม่พิมพ์ได้ ในทางการค้ามักเรียกเหล็กพวกนี้ว่า “เหล็กหัวแดง

เหล็กกล้าคาร์บอนเครื่องมือ (Carbon Tool Steels)

    เหล็กใน กลุ่มนี้ จะมีคาร์บอนผสมอยู่ระหว่าง 0.60-1.40 % เป็นเหล็กชุบแข็งด้วยน้ำ ภายหลังการชุบแข็งที่ผิวชิ้นงานจะมีความแข็งสูงระหว่าง 65-68 HRC แต่เนื่องจากเหล็กเกรดนี้มีความสามารถในการชุบแข็งต่ำ จึงทำให้ภายในชิ้นงานจะมีความแข็งไม่สูงนัก ลักษณะเช่นนี้ ชิ้นงานจะมีผิวแข็ง แต่แกนในยังคงมีความเหนียวอยู่ ชิ้นงานจะทนการเสียดสีได้ดี และรับแรงกระแทกได้ดีด้วย แม่พิมพ์ที่ทำจากเหล็กกลุ่มนี้ จะทนการเสียดสีได้ดี แต่ไม่สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ มักใช้ทำแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ เช่น แม่พิมพ์ ตัด เจาะ โลหะบาง ๆแม่พิมพ์ที่ใช้ในงานขึ้นรูปเย็นที่ใช้ผลิตชิ้นงานจำนวนไม่มากนัก เป็นต้น และเนื่องจากเป็นเหล็กที่ชุบแข็งด้วยน้ำ ทำให้ชิ้นงานมีโอกาสที่จะเกิดการคดงอ และแตกร้าวภายหลังการชุบแข็งได้ ตามมาตรฐานของ JIS จะอยู่ในกลุ่มเหล็กเกรด SK 1 ถึง SK 7 แต่ที่นิยมใช้ และสามารถหาซื้อได้ง่ายภายในประเทศจะเป็นเกรด SK 3 และ SK 5

เหล็กทำแม่พิมพ์พลาสติก (Plastic Mold Steels)

     เหล็ก ในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันภายในประเทศ จะเป็นเหล็กที่ผ่านการชุบแข็ง และอบคืนตัวที่อุณหภูมิสูง (Pre-hardened Steels) เพื่อปรับให้ความแข็งลดลงเหลือประมาณ 28-40 HRC เหมาะสำหรับทำแม่พิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากเมื่อทำการขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกล และนำมาขัดผิวให้เป็นมันเงาแล้ว สามารถนำไปใช้งานได้เลย โดยไม่ต้องนำมาชุบแข็งอีก ทำให้ไม่เกิดปัญหาด้านการบิดงอ และเสียรูป แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแม่พิมพ์ผ่านการขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลมาก่อน ดังนั้น ควรนำไปอบคลายความเค้นก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานบิดตัวขณะใช้งาน เหล็กในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้จะเป็นเกรด AISI P21,   P20,   P20 + S อักษรS หมายถึงเติมซัลเฟอร์ลงไปด้วยเพื่อให้ขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลง่าย เหล็กในกลุ่มนี้ สามารถใช้กับแม่พิมพ์ ฉีด เป่า แม่พิมพ์อัดขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกได้ดี

เหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานเย็น (Alloy Tool Steel Cold Work)
  
     เหล็ก กล้าผสมเครื่องมืองานเย็น ได้ถูกนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ทั้งความแข็ง ความเหนียว และทนการกัดกร่อน เหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานเย็นสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ชุบแข็งด้วยน้ำมัน กลุ่มที่ชุบแข็งด้วยลมเป่า และกลุ่มที่มีส่วนผสมของคาร์บอนสูง และโครเมียมสูง ดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
          กลุ่มที่มีธาตุผสมต่ำชุบแข็งด้วยน้ำมัน ที่นิยมใช้กันจะเป็นเกรด JIS SKS 3 และเนื่องจากชุบแข็งด้วยน้ำมัน จึงลดการบิดงอ และลดความเสี่ยงต่อการแตกร้าวขณะชุบแข็งได้ดีกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนเครื่อง มือที่ชุบแข็งด้วยน้ำ เหล็กกลุ่มนี้เป็นเหล็กที่มีราคาไม่สูงนัก ใช้ทำเครื่องมือแกะสลักโลหะอ่อน ดอกสว่านเจาะชิ้นงานที่ไม่ใช่เหล็ก ใบตัดโลหะบาง และแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่ใช้ในการขึ้นรูปเย็น ชิ้นงานที่มีจำนวนการผลิตปานกลางถึงค่อนข้างสูง
         กลุ่มที่มีธาตุผสมปานกลางชุบแข็งโดยใช้ลมเป่า ที่นิยมใช้จะเป็นเหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานเย็นเกรด JIS SKD 12 เนื่องจากเป็นเหล็กชุบลม จึงมีการบิดตัวน้อย ชิ้นงานที่ทำจากเหล็กเกรดนี้ภายหลังการชุบแข็งจะได้ความแข็งลึก มีการเสียรูปน้อย คุณสมบัติทนการเสียดสีสูง ทนแรงกระแทกได้ดีพอใช้ ตัวอย่างชิ้นงาน เช่น เครื่องมือมีคม กรรไกรตัดเหล็ก แม่พิมพ์ปั๊มขึ้นรูปโลหะที่ผลิตได้เป็นจำนวนมาก
        กลุ่มที่มีปริมาณคาร์บอนสูง และผสมโครเมียมสูง ในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดจะเป็นเกรด JIS SKD 11 เนื่องจากมีความเหนียวทนแรงกระแทกได้สูงกว่าเกรดอื่น ๆ ในกลุ่ม สามารถชุบแข็งได้ลึก ชิ้นงานจะมีคุณสมบัติทนการเสียดสีได้สูงมาก แต่คุณสมบัติด้านทนแรงกระแทกจะไม่สูงนัก ตัวอย่างชิ้นงาน เช่น เครื่องมือมีคมที่ใช้กับโลหะและเหล็ก แม่พิมพ์ปั๊มโลหะแผ่น แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เป็นต้น

เหล็กกล้าผสมเครื่องมืองานร้อน (Alloy Tool Steel Hot Work)
 
     เหล็ก กลุ่มนี้จะมีคุณสมบัติที่สามารถใช้งานที่ต้องสัมผัสกับความร้อนได้ดี โดยมีการเปลี่ยนรูปขณะใช้งานน้อย ทนแรงกระแทกได้ดี และมีความต้านทานต่อการอ่อนตัวที่อุณหภูมิสูง เหล็กกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นหลายเกรด แต่ที่นิยมใช้ภายในประเทศจะเป็นเกรด JIS SKD 61 เนื่อง จากเหล็กเกรดนี้ มีความเหนียวทนแรงกระแทกได้สูงกว่าเกรดอื่น ๆ ในกลุ่ม มีความต้านทานต่อความร้อนและเย็นสลับกัน ในขณะที่ขึ้นรูปร้อนชิ้นงาน เช่น การตีขึ้นรูปร้อนชิ้นงานเหล็กกล้าที่ต้องมีการสเปรย์น้ำหล่อเย็น เพื่อไล่สะเก็ดล่อนจากผิวชิ้นงานตัวอย่างการใช้งาน เช่น แม่พิมพ์อัดขึ้นรูปร้อนอลูมิเนียม แม่พิมพ์หล่ออลูมิเนียม แม่พิมพ์ตีขึ้นรูปร้อนเหล็กกล้า (Hot Forging Dies) ชิ้นงานที่ทำจากเหล็กเกรดนี้ สามารถเพิ่มคุณสมบัติทนต่อการเสียดสีได้ ด้วยการนำไปเสริมไนโตรเจนที่ผิว (Nitriding)

เหล็กกล้าเครื่องมือความเร็วสูง (High Speed Tool Steels)

     เหล็ก ในกลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อ ใช้ในงาน กลึง ไส กัด ตัด และ เจาะ ชิ้นงานโลหะด้วยความเร็วสูง ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่สามารถรักษาคมตัดได้ขณะใช้งานที่อุณหภูมิสูง เนื่องจากเหล็กในกลุ่มนี้มีธาตุผสมที่รักษาคุณสมบัติด้านความแข็งทนต่อการ เสียดสี ทนความร้อน และยังคงรักษาความเหนียวไว้ได้ ธาตุผสมที่สำคัญคือ ทังสเตน          โมลิบดินั่ม โครเมียม และโคบอลต์ เหล็กกลุ่มนี้ที่นิยมใช้ทำแม่พิมพ์ปั๊มโลหะได้แก่เกรด   JIS SKH 51 เป็นส่วนใหญ่ นอกนั้น จะเป็นเกรด JIS SKH 52,   SKH 55 และ SKH 59 ที่อาจจะมีใช้งานอยู่บ้างเล็กน้อย ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ทำแม่พิมพ์อัดขึ้นรูป แม่พิมพ์ปั๊มโลหะแผ่นที่มีคุณภาพสูง ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เป็นต้น

ซีเมนต์คาร์ไบด์ (Cemented Carbide)

     ซีเมนต์ คาร์ไบด์เป็นผงโลหะผสมของทังสเตนคาร์ไบด์และโคบอลท์ นำมาอัดขึ้นรูป แล้วใช้กระบวนการทางความร้อนที่สูงมาก อบโลหะผสมนี้ด้วยเตาสุญญากาศ จนผงโลหะผสมยึดติดกัน ทำให้ได้ซีเมนต์คาร์ไบด์ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการเสียดสีได้สูงมาก ความแข็งของซีเมนต์คาร์ไบด์นี้จะสูงประมาณ 85-90 HRA ใช้ทำเป็นตัวแม่พิมพ์สำหรับการ ตัด เจาะโลหะแผ่น ที่มีคุณภาพและความทนทานสูงมาก แต่เนื่องจากซีเมนต์คาร์ไบด์จะมีราคาแพง จึงต้องทำเป็นชิ้นส่วนแล้วฝังลงไปในฐานเหล็กอีกที เหมาะกับแม่พิมพ์ปั๊มโลหะที่ต้องการผลิตชิ้นงานเป็นจำนวนมาก ข้อเสียของซีเมนต์คาร์ไบด์คือ เปราะทำให้ทนแรงกระแทกได้ต่ำ

เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steels)

    เหล็ก กล้าไร้สนิมกลุ่มที่ใช้ทำแม่พิมพ์จะเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มมาร์เทนซิติก (Martensitic Stainless Steels) เหล็กกลุ่มนี้ สามารถชุบแข็งได้ เมื่อทำการอบชุบแข็งแล้วจะได้โครงสร้างมาร์เทนไซท์ เหล็กกลุ่มนี้ จะผสมโครเมียมเป็นองค์ประกอบหลักในปริมาณ 11.5-18% แม่เหล็กสามารถดูดติด สามารถขึ้นรูปร้อนได้ ถ้าทำการชุบแข็งตามอุณหภูมิ และวิธีที่ถูกต้องจะทนต่อการกัดกร่อน และต้านทานการเกิดสนิมได้ดี แต่ถ้าชุบแข็งไม่ถูกต้องอาจทำให้คุณสมบัติด้านนี้ลดลงได้ เนื่องจากถ้าการเย็นตัวในสารชุบช้าเกินไป จะทำให้เกิดคาร์ไบด์ตกผลึกตามขอบเกรน ในบริเวณนี้จะมีโครเมียมต่ำทำให้เกิดสนิมได้ ในการชุบแข็งเหล็กกล้าไร้สนิม สามารถชุบได้ทั้งลม และน้ำมัน ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงาน มักนิยมใช้ทำแม่พิมพ์ที่ใช้ฉีดพลาสติกที่มีความกัดกร่อนสูง ดังเช่น พลาสติก PVC เกรดที่นิยมใช้งานจะเป็นเกรด JIS SUS 420J2,   431 และ เกรด 440 C

โลหะผสม (Alloy Metals)

วัดสุทำแม่พิมพ์ที่เป็นโลหะผสมที่สำคัญมี ดังต่อไปนี้
   อลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy)  อลูมิเนียมผสมที่ใช้ทำแม่พิมพ์ส่วนใหญ่จะเป็นเกรด A7079-61 ข้อดีของการนำอลูมิเนียมมาทำแม่พิมพ์คือ มีความสามารถในการระบายความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบา คือมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของเหล็ก จึงมักนิยมทำพันซ์โฮลเดอร์ หรือ ดายโฮลเดอร์ ของแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ วัตถุประสงค์เพื่อลดน้ำหนักแม่พิมพ์ให้เบาลง นอกจากนี้ อลูมิเนียมยังเป็นโลหะที่สามารถขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลได้ง่ายกว่าเหล็กมาก จึงสามารถประหยัดเวลาในการขึ้นรูปแม่พิมพ์ได้มาก อลูมิเนียมผสมที่ใช้ทำแม่พิมพ์มักจะเป็นเกรด A7079 และชนิดที่คล้าย ๆ กัน คุณสมบัติของอลูมิเนียมเกรดนี้ จะใกล้เคียงกับเหล็กกล้าคาร์บอนเกรด S 50 C สามารถใช้ทำแม่พิมพ์พลาสติก ทั้งแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก และแม่พิมพ์เป่าพลาสติก ที่มีจำนวนการผลิตไม่มากนัก และเนื่องจากอลูมิเนียมผสมนี้ ทนทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี จึงใช้ทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก PVCได้
  โลหะผสม Beryllium Copper Alloy  โลหะผสมนี้จะใช้เป็นตัวระบายความร้อนของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก การใช้งาน จะทำการเจาะตรงส่วนที่ต้องการระบายความร้อนของแม่พิมพ์ จากนั้น จะนำโลหะผสม Beryllium Copper Alloy ใส่ลงไป โลหะนี้จะเป็นตัวนำความร้อนที่ดีมาก จึงช่วยระบายความร้อนออกจากแม่พิมพ์ การนำโลหะผสมชนิดนี้มาใช้ จะทำให้ลดเวลาในการหล่อเย็นได้ประมาณ 40% นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมการเย็นตัวของชิ้นงานพลาสติกในแม่พิมพ์ให้มีความสม่ำเสมอกัน ทำให้ช่วยลดการบิดงอ เสียรูป และลดรอยตำหนิจากการยุบตัวของพลาสติก (Sink mark)
  โลหะผสม HZ Alloy โลหะผสมนี้ เป็นโลหะผสมของ Cu-Al-Be ที่ทนทานต่อการสึกหรอสูง โดยได้มีการพัฒนาขึ้นโดย บริษัทอู่ต่อเรือ ฮิตาชิ สำหรับคุณสมบัติทางกลของโลหะผสมนี้คือ มีความต้านทานแรงดึง 500-650 N/mm2 มีอัตราการยืดตัว 0.5-2.0% ความแข็งระหว่าง 180-400 HB การใช้งานจะใช้ทำแม่พิมพ์ปั๊มขึ้นรูปเหล็กล้าไร้สนิมเป็นหลัก และเนื่องจากเป็นวัสดุที่มีราคาแพง จึงใช้โลหะนี้ใส่ลงตรงผิวบน หรือ ส่วนบนของแม่พิมพ์เท่านั้น ข้อดีของโลหะผสมนี้คือ สามารถใช้ขึ้นรูปลึกแผ่นเหล็กกล้าได้ โดยไม่ทำให้เกิดรอยขีดข่วนที่แผ่นเหล็กที่นำมาขึ้นรูป

Cr.http://plastic.freevar.com

http://plastic.freevar.com

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

CAD File 3D (แจก)

ชอบ ชิ้นงานนี้ตรงที่ ตัดแล้วก็พับขอบลงพร้อมกันทั้ง สามด้านเลย
มี CAD 3 D ให้เผื่อมีใครที่อยากดูเพื่อติชม (แกะมาจาก Youtube)
เป็น ไฟล์นามสกุล Parasolid (.x_t)

คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
ดาวน์โหลด ไฟล์ 3D

(ต้องมี gmail นะครับ)

สำหรับโพสต์นี้จะทยอยเอาหลายๆแบบมาลงให้ดูเรื่อยๆและยินดีรับชิ้นงานตัวอย่างมาเขียนเป็นกรณีศึกษาร่วมกันคับ  

 

อันนี้เป็นงาน ดัดท่อคับ (pipe) แกะจากข้อต่อสายน้ำมัน 

 กระบวนการทำก็มี ปั้มขึ้นรูป  2 ครั้ง  แล้วก็ดัดโค้ง 90 องศาโดยใช้ jig 

- ช่วงนี้ติดงานที่บริษัท เลยไม่ได้เขียนแม่พิมพ์ เพื่อเอามาลงให้ติชมคับ
แต่ก็มีเขียนไว้คราวๆ สองสามพิมพ์คับเสร็จแล้วจะเอามาลงเนาะ