วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การวางเลย์เอาท์แผ่นสตริป

การวางเลย์เอาท์แผ่นสตริป
              ขั้นตอนแรกในการออกแบบแม่พิมพ์ก็คือ การหาขนาดของแผ่นวัสด(Blank size) การคิดกระบวนการผลิต(Process) และการวางรูปแบบการขึ้นรู(Scrap Strip) 
     ค่าใช้จ่าย 50-70% ในงานปั้มชิ้นส่วน มาจากราคาวัสดุ ดังนั้นกระบวนการเลเอาท์แผ่นสตริป จึงมีความสำคัญมาก เพราะส่งผลถึงกำไรหรือความสูญเปล่าของวัสดุที่นำมาปั้มขึ้นรูป โดยจะคิดอัตราการใช้วัสดุต่อแผ่นวัสุทังหมดเป็นเปอร์เซนต์ เรียกว่า Yeild Ratio 

สูตรคำนวณ

1. t x W x P x Ks = Blank weigh

2.  Part weigh x100  = yeid lratio
        Blank weigh

โดย   t  = ความหนาเหล็ก (Part)
        W = ความกว้างของ แผ่นสตริป
        P = ระยะห่างของชิ้นงาน (Pitch)
        Ks =ความถ่วงจำเพาะของวัสดุ

ลักษณะการวาง Blank แบบต่างๆ
       
       รูปร่างของ blank โดยส่วนมากจะมีคล้ายคลึงกับแบบใดแบบหนึ่ง เหมือนกับภาพข้างต้นซึ่งแสดงให้เห็นรูปแบบของการจัดวางที่เหมาะสมในแต่ละรูปร่าง

การวางเลย์เอาท์ของแม่พิมพ์แบบต่อเนื่อง(Progressive Die)


         การวางเลย์เอาท์ของแม่พิมพ์แบบต่อเนื่อง ขั้นแรกก็เหมือนกับแบบอื่นๆคือหาขนาดของวัสดุ กระบวนการขึ้นรูป และจุดเชื่อมต่อระหว่างชิ้นส่วน ซึ่งแม่พิมพ์ชนิดนี้มีจุดเด่นตรงที่ปั้มครั้งเดียวได้งานสำเร็จออกมา หนึ่งตัวเลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการอื่นอีก แต่จุดด้อยของพิมพ์ชนิดนี้ก็คือ การสิ้นเปลืองเนื้อวัสดุซึ้งมีผลต่อต้นทุนดังได้กล่าวมาแล้ว
        การเลย์เอาท์เริ่มจาก กระบวนการเจาะก่อนเพื่อใช้เป็นรูนำตำแหน่ง จากนั้นก็ค่อยเป็นกระบวนการขึ้นรูปต่อไป ซึ่งจะเรียกเป็น สถานี (stations)จนถึงสถานีสุดท้าย ที่ตัดแยกชิ้นงานออกจากจุดเชื่อม

     ลักษณะการต่อเชื่อมของ Blank Strip ของแม่พิมพ์ Progressive




ภาพการเลย์เอาท์

      เริ่มจากจัดวางรูปแบบการขึ้นรูป ทิศทางการป้อนแผ่นสตริป ระยะห่างระหว่างชิ้นงานที่เหมาะกับกับความแข็งแรงของ Punch และ Die


    จัดวางชิ้นงานที่ได้จากการกำหนดลักษณะขึ้นรูปของแต่ละสถานี (จากการวิเคราะห์ของโปรแกรม หรือ โปรกู ว่ากันไป)









          ออกแบบรูปร่างและจัดวางตำแหน่งของ Punch Die ตามแต่ละสถานีทีได้กำหนดไว้แล้ว เช่น เจาะ ตัด ดัด ดึงให้ได้รูปร่างตามต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น